วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

ช่องทางการสื่อสาร

ช่องทางการสื่อสาร ( Communication channel ) เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับระบบสื่อสารข้อมูล ช่องทางสื่อสารเป็นเส้นทางขนส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่นๆ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ช่องทางการสื่อสารที่เชื่อมต่อแบบมีสาย และอีกประเภทหนึ่งคือ ช่องทางการสื่อสารที่เชื่อมต่อแบบไร้สาย ช่องทางการสื่อสารที่เชื่อมต่อแบบมีสาย
การเชื่อมต่อแบบมีสาย( wired connection ) เป็นการสื่อสารโดยการใช้สายเชื่อมระหว่างอุปกรณ์ส่งและรับข้อมูล เช่น สายคู่ตีเกลียว สายโคแอกเชียล และสายเส้นใยนำแสง
สายคู่ตีเกลียว ประกอบด้วยสายทองแดงเล็กๆเป็นจำนวนมาก การติดตั้งภายในอาคารจะยึดติดกับตัวยึดบนผนังโดยที่สามารถเสียบสายต่อเข้ากับโทรศัพท์และเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ สายคู่ตีเกลียวจัดได้ว่าเป็นสื่อมาตรฐานในการส่งเสียงและข้อมูลเป็นระยะเวลานาน แต่กำลังจะล้าสมัยในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นจึงมีการพัฒนาสายส่งที่มีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือได้ ในการส่งข้อมูลมากกว่าการใช้สายคู่ตีเกลียว
สายโคแอกเชียล ( coaxial cable ) ประกอบด้วยสายทองแดงเพียงเส้นเดียวเป็นแกนกลางหุ้ม ด้วย ฉนวนสายยาง ถ้าจะเปรียบเทียบการส่งข้อมูลกันแล้ว สายโคแอกเชียลสามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าสายคู่ตีเกลียวประมาณ 80 เท่า ส่วนใหญ่แล้วสายโคแอเชียลจะใช้ในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ แต่ก็สามารถใช้ในการส่งข้อมูลของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้เช่นกัน
สายเส้นใยนำแสง ( fiber –optic cable ) ส่งข้อมูลโดยใช้หลักการสะท้อนของแสงผ่านหลอดแก้วขนาดเล็ก สายเส้นใยนำแสงสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 26 , 000 เท่าของสายคู่ตีเกลียว และเมื่อเปรียบเทียบกับสายโคแอกเชียลสายเส้นใยนำแสงจะมีน้ำหนักเบากว่าและมีความน่าเชื่อมถือในการขนส่งข้อมูลมากกว่าและในการขนส่งข้อมูลจะใช้ลำแสงที่มีความเร็วเทียบเท่าความเร็วของแสง ทำให้การขนส่งข้อมูลรวดเร็วกว่าการขนส่งข้อมูลในสายทองแดงมาก ดังนั้นในอนาคตคาดว่าสายเส้นใยนำแสงจะถูกนำมาใช้แทนที่สายคู่ตีเกลียว
ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless)
ในการเดินสายสัญญาณนั้นบางพื้นที่อาจไม่สามารถทำการเดินสายสัญญาณได้และถึงแม้ว่าทำได้ก็มีข้อยุ่งยากมากมายเกิดขึ้น ดังนั้นการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless Transmission) จึงเข้ามามีบทบาทช่วยให้การเชื่อมต่อสัญญาณทำได้สะดวกขึ้น โดยการสื่อสารแบบไร้สายนี้จะเป็นสัญญาณผ่านสื่อกลางที่เป็นอากาศโดยใช้คลื่นความถี่ที่แตกต่างกัน
ไมโครเวฟ (Microwave)
ไมโครเวฟ เป็นรูปแบบการสื่อสารโดยใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงสามารถสื่อสารในระยะทางใกล้ ๆ ผ่านชั้นบรรยากาศและอวกาศได้ โดยจะทำการส่งสัญญาณจากสถานีส่งสัญญาณส่วนกลางไปยังเสารับสัญญาณในหลาย ๆพื้นที่ สถานีส่วนกลางจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า จานรับและจานส่งคลื่น
ดาวเทียมสื่อสาร (Satellite) คือ สถานีรับส่งสัญญาณไมโครเวฟที่มีจานรับและจานส่งคลื่นความถี่ขนาดใหญ่ และทำงานโดยลอยอยู่ในอากาศซึ่งสถานีดังกล่าวจะทำการติดต่อสื่อสารภาคพื้นดิน ที่มีจานรับส่งสัญญาณไมโครเวฟเหมือนกัน
อินฟราเรด (Infrared)
อินฟราเรด หรือ I.R. คือ รูปแบบการติดต่อสื่อสารข้อมูลโดยใช้คลื่นแสงอินฟาเรด มีลักษณะการสื่อสารคล้ายกับการสื่อสารด้วยคลื่นไมโครเวฟ กล่าวคือ การสื่อสารด้วยแสงอินฟาเรดจะต้องหันตัวรับและตัวส่งให้ตรงกันและไม่มีสิ่งกีดขวางเส้นสายตา (Line-of-sight) หรือขวางแสงอินฟาเรด
คลื่นวิทยุ (Radio)
คลื่นวิทยุ เป็นการสื่อสารแบบไร้สายที่สามารถกระจายสัญญาณได้ในระยะไกล เช่น ระหว่างจังหวัด ประเทศ เป็นต้น และในระยะใกล้ เช่น ภายในบ้านหรือที่ทำงาน เป็นต้น
โทโปโลยีแบบดาว (Star Topology)
 เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง โดยมีฮั (HUB) เป็นจุดผ่านการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละตัว การรับส่งข้อมูลจะต้องผ่านคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสมอ ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงแบบ Point-to-Point ไม่มีการใช้สายข้อมูลร่วมกัน ทำให้ค่าใช้จ่ายเรื่องสายเชื่อมต่อมีราคาสูง เป็นเครือข่ายที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพและสามารถควบคุมการประมวลผลได้อย่างใกล้ชิด
ข้อดี
1.ง่ายในการบริการ  เพราะมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่เดียว
2.อุปกรณ์ 1 ตัว สายส่งข้อมูล 1 เส้น  ทำให้การเสียหายของอุปกรณ์ใดในระบบไม่กระทบต่อการทำงานของระบบอื่น ๆ ในระบบ
3.ควบคุมการส่งข้อมูลได้ง่าย เพราะเป็นการเชื่อมต่อจากศูนย์กลางกับอุปกรณ์อีกจุดหนึ่งเท่านั้น
ข้อเสีย
1.เนื่องจากแต่ละจุดจะต่อโดยตรงกับศูนย์กลาง ทำให้ต้องใช้สายส่งข้อมูลจำนวนมาก ทำให้   เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการติดตั้งและบำรุงรักษา
2.การขยายระบบทำได้ลำบาก การเพิ่มจุดใหม่เข้าไปในระบบ จะต้องเดินสายจากศูนย์กลางออกมา
3.การทำงานขึ้นอยู่กับศูนย์กลาง ถ้าจุดศูนย์กลางเกิดเสียหายขึ้นมา ทั้งระบบก็จะไม่สามารถทำงานได้
Bus Topology
 เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แต่ละตัวด้วยช่องการสื่อสารเพียงช่องเดียว เรียกว่า บัส (Bus) หรือ ทรังก์ (Trunk)  เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต่ออยู่กับบัส และที่ปลายทั้งสองด้านปิดด้วยเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator)  เป็นโทโปโลยีที่ได้รับความนิยม เนื่องจากติดตั้งระบบ ดูแลและติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย โดยไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อน ข้อมูลจะส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องใด ๆ ก็ได้ในสองทิศทาง ทำให้ผู้ใช้สามารถส่งข้อมูลตรงไปยังเครื่องที่ต้องการได้ โดยไม่รบกวนจุดอื่น ๆ
ข้อดี
1.ใช้สายส่งข้อมูลน้อย ทำให้ประหยัดช่วยลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษา
2. การใช้สายส่งข้อมูลร่วมกัน ทำให้ใช้สายส่งข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. มีโครงสร้างง่ายและมีความเชื่อถือได้ เพราะใช้สายส่งข้อมูลเพียงเส้นเดียว
4. ถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องใดในระบบเครือข่ายไปทำงาน ก็จะไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของระบบเครือข่าย
5. ง่ายในการเพิ่มจุดบริการใหม่เข้าไปในระบบ จุดใหม่จะใช้สายส่งข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้
ข้อเสีย
1. การหาข้อผิดพลาดของระบบทำได้ยาก   ต้องทำการตรวจสอบทุก ๆ จุดในระบบ
2.ในกรณีเกิดการเสียหายในสายส่งข้อมูล ทำทำให้ทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้
3. จุดในระบบต้องฉลาดพอ เนื่องจากแต่ละจุดในระบบต่อโดยตรงกับบัส ซึ่งหมายความว่า การตัดสินใจว่าใครจะได้ใช้สายส่งข้อมูลจะเป็นหน้าที่ของแต่ละจุดทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพิ่มขึ้น
Ring Topology
 เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเป็นรูปวงแหวน โดยที่ทุกเครื่องสามารถติดต่อกันได้ นั่นคือ เมื่อมีการส่งข้อมูลจากเครื่องหนึ่ง ข้อมูลจะวนไปรอบ ๆ วงแหวนในทิศทางเดียว โดยผ่านไปทีละจุด โดยแต่ละจุดจะตรวจสอบว่าข้อมูลที่ส่งมานั้นเป็นของตนเองหรือไม่ ถ้าใช่จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดไว้ แต่ถ้าไม่ใช่จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังจุดต่อไป
ข้อดี
1.ใช้สายส่งข้อมูลน้อย
2. สามารถตัดเครื่องเสียออกจากระบบได้
ข้อเสีย
1. ถ้าจุดใดจุดหนึ่งเกิดความเสียหาย จะทำให้ทั้งระบบไม่สามารถติดต่อกันได้ จนกว่าจะตัดเอาจุดที่เสียหายออกจากระบบ
2. ยากในการตรวจสอบข้อผิดพลาด  การตรวจสอบต้องทดสอบระหว่างจุดที่เกิดปัญหาไปกับจุดถัด  
3. การจัดโครงสร้างระบบใหม่จะยุ่งยาก เมื่อต้องการจะเพิ่มจุดใหม่เข้าไป
Wold Wide Web ( WWW ) หมายถึง  เน็ตเวิร์คที่มีการเชื่อมต่อกันไปทั่วโลก   เรียกย่อว่า   เว็บ “  (   Web )  ในเว็บมีอะไรหลายอย่างที่น่าสนใจเก็บรวบรวม  ทำให้สามารถดูเอกสารหรือค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ ซึ่งจะแสดงผลออกมาทีละหน้า  แต่ละหน้าเรียกว่า  เว็บเพจ”  ( Web Page ) แหล่งเก็บเว็บเพจ
wepsite หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นโกดังหรือแหล่งเก็บเว็บเพจต่าง ๆ  ที่มีการเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต   ซึ่งเว็บบราวเซอร์จะทำการติดต่อกับเว็บไซต์ที่เก็บเว็บเพจนั้น ปัจจุบันหน่วยงานต่าง  ๆ ไม่ว่าภาครัฐหรือภาคเอกชน   รวมทั้งองค์กรอิสระต่างๆให้ความสนใจในการสร้างเว็บไซต์ของตัวเอง   เพื่อเป็นแหล่งสารสนเทศ   ข้อมูลและข่าวสารเพื่อการเผยแพร่ข้อมูลภายในองค์กรของตัวเอง
Weppage หมายถึง หน้าหนึ่ง ๆ ของเว็บไซต์ ที่เราเปิดขึ้นมาใช้งาน
Wep browse หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ
ระบบ  (DNS) นี้เป็นระบบจัดการแปลงชื่อไปเป็นหมายเลข IP address โดยมีโครงสร้างฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นเพื่อใช้เก็บข้อมูลที่เรียกค้นได้อย่างรวดเร็ว





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น